ยุคนี้ร้านอาหารไหนไม่มีบริการ Delivery
ไม่เพียงแต่ขาดโอกาสเพิ่มช่องทางทำรายได้ไปเท่านั้น
แต่ยังเป็นการเสียโอกาสการแข่งขัน
ให้กับคู่แข่งที่มีบริการ Delivery อีกด้วย
ซึ่งทั้ง 2 โอกาสนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมใช้บริการ Delivery มากขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันไม่ใช่เฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านั้น ต่างจังหวัดก็มีความต้องการใช้บริการ Delivery สั่งอาหารมาส่งถึงบ้านก็เช่นกัน
ดังนั้น หากไม่อยากเสียโอกาสเพิ่มยอดขาย และเสียพื้นที่ตลาดให้กับร้านอื่น ๆ ก็ต้องไม่พลาดมีบริการ Delivery
ถึงตรงนี้ผู้ประกอบการอาจมีข้อสงสัยว่า ระหว่างใช้บริการ App Food Delivery กับ ทำ Delivery ด้วยการขี่มอเตอร์ไซต์ส่งเอง แบบไหนจะดีกว่ากัน เรามีข้อมูลมาบอกเพื่อประกอบการตัดสินใจง่ายขึ้น
App Food Delivery
ข้อดีของการที่ร้านอาหารเป็นพาร์ทเนอร์กับแอป Food Delivery นั้น มีหลายข้อด้วยกัน เช่น
- สามารถช่วยให้ร้านอาหารเราเพิ่มยอดขายได้ทันทีโดยบาง App ก็ไม่มีค่าใช้จ่าย บาง App ก็มีค่าใช้จ่าย แต่ก็ถือว่าเป็นการเพิ่มช่องทางรายได้ให้เติบโตได้
- สามารถใช้ App Food Delivery เป็นช่องทางในการโปรโมทร้าน โปรโมทเมนูให้ดังได้ ซึ่งแต่ละ App ดังๆ มีผู้ใช้หลายสิบล้านคน ทำให้ร้านค้าของเรามีโอกาส
ได้รับการเข้าถึงและเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น ขยายฐานลูกค้าได้กว้างมากขึ้น โดยไม่มีต้นทุนหรือมีต้นทุนในการดำเนินการที่น้อยกว่าการใช้งบทางการตลาดทั่วไป
- ทำให้ร้านอาหารของเรามีระบบบริการ Delivery ได้โดยไม่ต้องจ้างพนักงาน ไม่มีต้นทุนเงินเดือนพนักงาน ซึ่งถือเป็นการบริการที่ทำให้ร้านของเราสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้น
- สามารถจัดโปรโมชั่นร่วมกับทาง App Food Delivery ได้ เพื่อกระตุ้นยอดขาย หรือสร้างกระแสการรับรู้ให้กับร้านค้าของตัวเอง ซึ่งสะดวก สบาย และง่ายกว่ามาก เพราะมีผู้ช่วยดำเนินการให้
ซึ่งปัจจุบัน App Food Delivery ที่ได้รับความนิยมจะมีอยู่ 4 App รายละเอียดในการสมัครเป็นพาร์ทเนอร์กับ App Food Delivery
แต่ละ App จะมีกฎระเบียบและเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป แต่ทุก App สมัครได้ง่าย ๆ แค่ปลายนิวจิ้ม ๆ 5 App ที่ว่า มี ดังนี้
Wongnai x LINE MAN Delivery
เบื้องต้นร้านค้าสามารถเข้าร่วมบริการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัครและการให้บริการ โดยคิดค่าส่งตามระยะทางในอัตราปกติ แต่ถ้าอยากให้ลูกค้าเสียค่าส่งในราคาที่ถูกลง สามารถเข้าร่วม LINE MAN GP โดยจะได้รับสิทธิ์พิเศษ คือ ค่าส่งอาหารถูกกว่า และได้รับการโปรโมทพิเศษ เพื่อช่วยให้ร้านได้รับออเดอร์ และยอดขายมากขึ้น
โดยระบบจะให้ร้านเลือกว่าต้องการเข้าร่วมบริการรูปแบบใด ระหว่าง
- LINE MAN Delivery ในอัตราค่าส่งพิเศษ (GP 30%)
-
เข้าร่วมเฉพาะ Self-Delivery หรือ Pickup (GP 5%) คือการสั่งอาหารผ่านแอป แล้วลูกค้าจะมารับอาหารที่ร้านเอง หมดปัญหาการรอคิวนาน ๆ แถมร้านยังมีเวลาเตรียมเมนูให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกด้วย
สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่สนใจ สามารถคลิกอ่านขั้นตอนในการสมัคร และอย่าลืมเช็คว่าพื้นที่ของท่า
ให้บริการ LINE MAN หรือไม่
- ขั้นตอนการสมัคร LINE MAN GP คลิก
- ลงทะเบียนสมัครใช้งาน คลิก
- เช็คพื้นที่ LINE MAN ให้บริการ คลิก
Grab Food
GrabFood มีการเก็บค่าบริการรายเดือน คิดเป็น 30% จากยอดขายที่ผ่านแกร็บฟู้ดเท่านั้น ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าแต่อย่างใด โดยค่า GP ที่ทางแอปหักไป มีส่วนช่วยโปรโมทร้านอาหาร ดันยอดขายได้ให้กับร้านอาหารได้อีกด้วย ราคาอาหารใน Grab Food บางร้านจะมีการบวกราคาเพิ่ม ทำให้ราคาหน้าร้านกับราคาในแอป ไม่ตรงกัน
Food Panda
จะคิดค่าคอมมิชชัน 35% จากมูลค่าของออเดอร์ทั้งหมดที่สั่งผ่านทาง Food Panda สำหรับออเดอร์ที่ชำระผ่านบัตรเครดิต จะทำการละเว้นค่าธรรมเนียม 3% ให้ร้านค้าที่ใช้บริการผ่าน Food Panda จะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ไม่ได้เป็นร้านที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจาก Food Panda เป็นบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจะถูกคำนวณจากค่าคอมมิชชั่นที่ทาง Food Panda จะต้องจ่ายเรา (ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกค้าออเดอร์ 100 บาท (ราคาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่วนแบ่งของ Food Panda จะเท่ากับ 35 บาท + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.45 บาท ในขณะที่ส่วนแบ่งของทางร้านจะเป็น 62.55 บาท)
สมัครใช้บริการคลิก
Gojek
ช่วงแรกที่เข้ามาทดลองตลาดในไทยใช้ชื่อแบรนด์ Get เมื่อตลาดมีความเป็นไปได้ Gojek ซึ่งเป็นเป็นสตาร์ทอัพของอินโดนีเซียต้องการเข้ามาทำตลาดด้วยชื่อตัวเองอย่างจริงจังและได้รับเงินลงทุนเพิ่มเติมจากบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกเช่น Google และ Tencent รวมถึงนักลงทุนรายใหม่ล่าสุดอย่าง Facebook
Robinhood
แอปฟู้ดเดลิเวอรี่น้องใหม่ล่าสุดจากค่ายบริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด ในเครือของ SCB ธนาคารไทยพาณิชย์ เพราะว่า หนึ่งในจุดเด่นของ “Robinhood” ที่หลายคนฮือฮาก็คือ ไม่มีการเก็บค่า GP ทำให้เป็นโอกาสของร้านเล็กๆที่ไม่ไหวกับค่า GP สามารถเข้าร่วมได้ ตามสโลแกน “แอปเพื่อคนตัวเล็ก” และมองถึงปัญหาของร้านเล็กที่ต้องมีกระแสเงินสดหมุนเวียนค่าใช้จ่ายในร้าน Robinhood หลังจากออเดอร์ส่งถึงลูกค้าภายใน 1 ชั่วโมง เงินจะเข้าบัญชีร้านทันที!
นอกจากนี้ ยังเตรียมทีมงานไว้สำหรับให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งคิดว่าต่อไปแค่เดินไปธนาคารไทยพาณิชย์ขอให้เจ้าหน้าที่ช่วยจัดการก็เรียบร้อย รวมถึงการนำ Dynamic Delivery Pricing เข้ามาช่วยวิเคราะห์และกระตุ้นให้ลูกค้าสั่งอาหารนอกเวลาที่ร้านขายดีอยู่แล้ว โดยการจูงใจด้วยราคาส่งลดพิเศษ หรือ กลยุทธ์อื่น ๆ ที่จะตามมา และลูกค้าสามารถเลือกชำระค่าอาหารผ่านการตัดบัญชีใน SCB EASY หรือตัดบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรเติมเงิน ชีวิตง่าย จ่ายสะดวกขึ้น และแน่นอนคงจะรวมไปถึงโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ง่ายขึ้นด้วย
ขี่มอเตอร์ไซต์ส่งเอง
หากเป็นร้านอาหารเน้นลูกค้าเฉพาะในพื้นที่ใกล้ร้าน เช่น ร้านอยู่หน้าปากซอยหมู่บ้าน ลูกค้าหลักอยู่ในหมู่บ้าน การขี่มอเตอร์ไซต์ส่งเองก็เป็นหนึ่งทางเลือก แต่ก็มีข้อจำกัดที่ต้องคำนึงถึงให้มาก เช่น ต้นทุนการจ้างคนส่ง ค่าน้ำมัน ค่าเสื่อม ค่าเวลา ค่าความปลอดภัย ค่าความเสียหายที่ร้านต้องรับผิดชอบเอง
และลูกค้ามีโอกาสรอออเดอร์นานหากเป็นการพ่วงออเดอร์ไปพร้อมกันหลายราย ลูกค้าคนสุดท้ายอาจจะถูกจัดส่งอาหารล่าช้ากว่าปกติ และส่งผลถึงคุณภาพอาหารตามมา
และหากเป็นการเปิดรับเออเดอร์ไม่จำกัดพื้นที่ ยิ่งต้องระวังเรื่องพนักงานจัดส่งไม่เพียงพอ เสียโอกาสได้ออเดอร์เพิ่มและเสี่ยงต่อการถูกลูกค้าด่าออกสื่อ
จากข้อมูลเบื้องต้นนี้ หวังว่าจะทำให้ผู้ประกอบการตัดสินใจได้ว่า ควรทำ Delivery แบบใดที่เหมาะกับร้านและตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพื่อเพิ่มช่องทางขาย เพิ่มลูกค้าใหม่ ๆ ผ่านทาง Delivery
คลิกอ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่