1. จำนวนอาหารในเมนูลดลง ทำให้ร้านสามารถโฟกัสคุณภาพของอาหารที่จะทำได้ดีขึ้น ช่วยให้ลูกค้าเลือกอาหารได้ง่ายขึ้น และช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบ สามารถตัดวัตถุดิบที่ไม่ได้ใช้ออกไปได้ และลดต้นทุนแรงงานได้อีกด้วย
2. ร้านอาหารจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะทำ #เมนูอาหารจานเล็กที่ราคาถูกลง ซึ่งจะช่วยจูงใจให้ลูกค้าสั่งอาหารได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าที่มีเงินจำกัด เมนูขนาดเล็กช่วยให้ลูกค้าสั่งอาหารได้หลายเมนูมากขึ้นต่อการสั่งหนึ่งครั้ง ทำให้ลูกค้าได้กินอาหารหลากหลายมากขึ้นอีกด้วย
3. การเปิดร้านอาหารแบบ Ghost kitchens และขายผ่าน App delivery เราจะเริ่มเห็นคนทั่วไปเปิดร้านอาหารแบบไม่มีหน้าร้านกันมากขึ้น โดยเฉพาะยุคที่การสั่งอาหารโดยแอปส่งอาหารเป็นเรื่องง่ายสำหรับลูกค้า ร้านอาหารเองก็ไม่ต้องแบกภาระค่าเช่าร้านเปิดหน้าร้าน สามารถใช้ครัวที่บ้านหรือที่พักทำอาหารแล้วส่งขายได้ การเปิดร้านในแอปหรือโซเชียลก็ไม่ยากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว
4. แนวคิดจากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร - ถ้าร้านมีพื้นที่ในการปลูกวัตถุดิบเอง หรือทำการดีลกับเกษตรกรท้องถิ่น ให้ลองใช้วัตถุดิบปลูกเองหรือดีลตรงมาเป็นองค์ประกอบหลักในอาหารทุกจานของร้าน ให้ลูกค้าได้รับอาหารเพื่อสุขภาพที่สดใหม่ รสชาติดี คัดสรรพิเศษมาจากฟาร์มของร้านโดยเฉพาะ และในทางหนึ่งเป็นการทำการตลาดแบบ CSR เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนของเกษตรกรท้องถิ่นไปในตัว
5. ร้านอาหารเริ่มโฟกัสไปที่ #การเพิ่มคุณภาพของอาหาร และเพิ่มรายการอาหาร #เมนูมังสวิรัติ เพราะจำนวนผู้บริโภคที่เปลี่ยนมาทานมังสวิรัติมีจำนวนมากขึ้น และเน้นไปที่อาหารที่ทำจากพืชมากขึ้น การพัฒนาอาหารจากพืชให้สามารถทดแทนเนื้อสัตว์ได้ก็จะมีมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นเราจะได้เห็นอาหารประเภท Plant Based มากขึ้นในอนาคต
6. Food trucks เติบโตอย่างรวดเร็วในปีที่แล้ว และจะมีผู้ประกอบการหันมาขายอาหารในรูปแบบ Food trucks มากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน แต่โอกาสทางธุรกิจยังคงสูงอยู่ เพราะเป็นช่วงที่คนเริ่มออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านกันหลังจากถูกล็อคดาวน์มานาน งานเทศกาล งานดนตรี งานรื่นเริงสนุกสนาน จะถูกจัดบ่อยขึ้น ซึ่งงานเหล่านี้ต้องการ Food Trucks เข้าร่วมงานด้วยเสมอ รวมถึงปั๊มน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต เริ่มจัดที่ทางสำหรับให้ Food Trucks จอดขายในที่จอดของห้างได้แล้วหลายแห่ง
ร้านอาหารต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
- ร้านอาหารต้องทำการบ้านมากขึ้น ทำความเข้าใจที่มาของอาหารและวัตถุดิบที่นำมาใช้ เพราะลูกค้าใส่ใจในเรื่องของความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน และไม่ทรมานสัตว์แม้จะถูกนำมาเป็นอาหารก็ตาม รวมถึงกระบวนการผลิตอาหารที่ต้องไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน
- อาหารและเครื่องดื่มที่มีรสชาติดั้งเดิม เพราะมีผู้คนไม่น้อยแลยที่โหยหารสชาติแห่งอดีต จากการได้กินอาหารรสชาติดั้งเดิมที่คุ้นเคย ไม่ได้กินมานาน ถ้าร้านอาหารสามารถศึกษาสูตรและทำอาหารได้ใกล้เคียงกับรสชาติดั้งเดิมที่สุด จะช่วยเพื่อความต้องการใช้บริการของลูกค้าได้ อย่าลืมว่าอาหารกับอารมณ์เป็นสิ่งที่แยกกันไม่ขาด
- การทานอาหารนอกบ้าน เพิ่มประสบการณ์ลูกค้าได้มากกว่า ร้านอาหารอาจเพิ่มสีสัน ด้วยการสร้างธีมเมนู มีเวิร์คช็อปทำอาหาร การตกแต่งร้าน ฯ เพื่อดึงดูดลูกค้ามากขึ้น หลังจากที่ผู้คนใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้านมาอย่างยาวนาน
- ลองสร้างเมนูที่มีรสชาติแปลกใหม่ จะช่วยเพิ่มความสนุกและแตกต่าง ระหว่างรสชาติที่คุ้นเคยและรสชาติที่ไม่รู้จัก ทำให้ลูกค้าไม่เบื่อ และสามารถสร้างเอกลักษณ์ของร้านได้เป็นอย่างดี